Jump to content

User:Blinkdrive

From Wikipedia, the free encyclopedia

ภาษีแบตเตอรี่

[edit]

ภาษีแบตเตอรี่ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาขยะแบตเตอรี่ที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในอนาคต โดยจะมีการเก็บเงินจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าแบตเตอรี่เพิ่มเติมจากภาษีสรรพสามิตที่เก็บอยู่ 8% เข้ากองทุนคล้ายๆกับกองทุนต่างๆ ที่เก็บเงินจากบุหรี่และเหล้า[1] ซึ่งถ้ารวมกับภาษีอื่นๆแล้ว(ไม่รวม VAT) ภาษีแบตเตอรี่ของประเทศไทยจะอยู่ที่ 23 % ซึ่งเก็บมากกว่าทุกประเทศบนโลกใบนี้

ประวัติ

[edit]

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนแบตเตอรี่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการดูแลสิ่งแวดล้อม หลังพบว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าที่คาดว่าจะเติบโตและมาแทนที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ทำให้การนำเข้าแบตเตอรี่รถยนต์อาจจะมีอยู่สูง และกลายเป็นขยะพิษในอนาคต หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี

โดยให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ไฮบริดที่นำเข้าแบตเตอรี่ดังกล่าว ต้องมีแผนจัดการแบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หากไม่ได้ทำตามแผนจะถูกเรียกเก็บเงินเข้ากองทุน ซึ่งตามร่างกฎหมายกำหนดเพดานสูงสุดไว้ที่ 1 ล้านบาท ต่อแบตเตอรี่ 1 ลูก

“เป็นลักษณะของกึ่งกองทุนนะครับ หลักการคือถ้ามีการนำเข้าแบตเตอรี่เข้ามา หรือมีการผลิตแบตเตอรี่ เพราะฉะนั้นต้องมีครบวงจร ปลายทางที่จะมีการบริหารท่านจะไปรีไซเคิล หรือท่านจะรียูส หรือจะมีวิธีกำจัดอย่างไรเมื่อถึงอายุมัน ถ้าไม่มีรับก็จะขอเรียกกองทุนเงินที่จะเข้ามาเก็บเอาไปดำเนินการ”  พชร  อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าว[2]

สูตรคำนวณการคิดภาษีแบตเตอรี่ ณ ประเทศไทย[3]

[edit]
  • กรณีผลิตในประเทศ (ณ ปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถผลิตในประเทศได้เลย)
    • อากรนําเข้า 0%
    • สรรพสามิต 8% (ราคาแนะนําขายปลีก) ประมาณ 12%
    • ราคา CIF หรือหน้าโรงงาน ภาษีมหาดไทย 10% ของสรรพสามิต


สรรพสามิต 8% (ราคาแนะนําขายปลีก)

ประมาณ 12% ราคา CIF หรือหน้าโรงงาน

ภาษีมหาดไทย 10% ของสรรพสามิต

  • กรณีนําเข้าอากรนําเข้า 10%
    • สรรพสามิต 8% (ราคาแนะนําขายปลีก) ประมาณ 12%
    • ราคา CIF หรือหน้าโรงงาน ภาษีมหาดไทย 10% ของสรรพสามิต
    • รวม 23% (ยังไม่รวม VAT)

ไทยครองแชมป์เก็บภาษีแบตเตอรี่อันดับต้นๆ ของโลก

[edit]

ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีประเทศไหนบนโลกใบนี้ ร่างกฏหมายเกี่ยวกับภาษีแบตเตอรี่อย่างจริงจังได้เหมือนประเทศไทยเลย

ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก (ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา, รัสเซีย, จีน, และประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมด) ได้ทำการจ่ายเงิน incentive (เงินช่วยเหลือ)จากภาครัฐ โดยเอาภาษีประชาชนไปอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า อย่าง เช่น ประเทศอเมริกาให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ที่คันล่ะ $7,500 หรือ 232,500 บาท [4] ประเทศจีนนั้นได้ให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ที่คันล่ะ 25,000 หยวน หรือ 125,000 บาท[5] ประเทศอังกฤษนั้นได้ให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ที่คันล่ะ £4,500(169,430 บาท) ไปจนถึง £8,000(301,210 บาท; สำหรับรถตู้ไฟฟ้า)[6]

แต่ประเทศไทยเป็นประเทศต้นๆ ของโลกที่ไม่มีมาตราการลดภาษีหรืออุดหนุน(incentive)รถยนต์ไฟฟ้าเลย แต่ทำตรงกันข้ามคือ คิดภาษีของแบตเตอรี่ที่ยังเรียกเก็บสูงลิบเฉลี่ยประมาณ 28% ทําให้การเก็บภาษีโดยรวมสูงกว่า รถเติมนํ้ามัน 100% แบบไฮบริดเกือบ 2 เท่า[3]


เงื่่อนไข

[edit]

“อัตราค่าจัดเก็บจากผู้ผลิตและนำเข้าแบตเตอรี่นั้นจะต้องรอรัฐบาลใหม่เป็นผู้เคาะค่าจัดเก็บดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เงินที่จัดเก็บได้จะเอาไว้สนับสนุนการกำจัดซากแบตเตอรี่ หากผู้ผลิตและนำเข้ามีกระบวนการกำจัดซากแบตเตอรี่ และนำแบตเตอรี่ไปกำจัดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถมาขอรับเงินคืน (รีฟันด์) ได้ เบื้องต้นคาดว่ากองทุนนี้จะใช้เงินก่อตั้งประมาณ 1,000 ล้านบาท”[1]

  1. ^ "เล็งรีดภาษีแบตเตอรี่แก้ปัญหาขยะพิษ". www.thairath.co.th (in Thai). Retrieved 2019-09-29.
  2. ^ WorkpointNews. "สรรพสามิตชงพิมพ์เขียวภาษีใหม่ เบียร์ 0%-กัญชา-แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า". Workpoint News (in Thai). Retrieved 2019-09-29.
  3. ^ a b MEESIRI, Wanchai. "ยานยนต์ไฟฟ้าถา้รัฐจรงิใจทจี่ะสง่เสริม..ควรเริ่มจากการปลดพันธนาการก่อนดีกว่าไหม?" (PDF).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (link)
  4. ^ "Electric Vehicles: Tax Credits and Other Incentives". Energy.gov. Retrieved 2019-09-29.
  5. ^ "Bloomberg - Are you a robot?". www.bloomberg.com. Retrieved 2019-09-29. {{cite web}}: Cite uses generic title (help)
  6. ^ "What are the incentives for buying an electric car | EVBox". evbox.com. Retrieved 2019-09-29.